- ล่องเรือไหว้พระ 9 วัด → เดินเที่ยวตลาดน้ำอัมพวา → ล่องเรือชมหิ้งห้อย
วัดแว่นจันทร์ วัดภุมรินทร์กุฎีทอง วัดท้องคุ้ง วัดบางแคใหญ่ วัดบางแคกลาง วัดบางจาก
วัดบางเกาะ วันอินทาราม วัดบางกุ้ง
- ล่องเรือไหว้พระ 5 วัด → เดินเที่ยวตลาดน้ำอัมพวา → ล่องเรือชมหิ้งห้อย
วัดแว่นจันทร์ วัดบางแคกลาง วัดบางกุ้ง วัดบางเกาะ วัดบางแคใหญ่
วัดจันทร์ – พฤหัส
- ล่องเรือไหว้พระ 5 วัด
วัดบางนางลี่ใหญ่ วัดท้องคุ้ง วัดบางแคใหญ่ วัดบางแคกลาง วัดบางกุ้ง
- วัดแว่นจันทร์ เป็นวัดเก่าแก่ในสมัยกรุงศรีอยุธยา ได้รับวิสุงคามสีมา เมื่อ พ.ศ.๒๓๓๕ พระประธานประจำวัด เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย หรือพระปางสะดุ้งมาร สร้างจากหินศิลา เป็นพระประธานประจำอุโบสถตั้งแต่สร้างวัด และชาวบ้านวัดแว่นจันทร์ เรียกพระพุทธรูปองค์นี้ว่า หลวงพ่อศิลา เป็นที่นับถือของชาวบ้านกันมาก อุโบสถของวัดนี้เป็นอุโบสถทรงไทยไม้สักทองทั้งหลังและเป็นอุโบสถมหาอุด คือ ไม่มีประตูทางออกด้านหลัง
- วัดภุมรินทร์ สิ่งที่น่าสนใจ ภายในวัดมีมากมาย ได้แก่ กุฎีทอง ทำด้วยไม้สัก ประวัติเล่าว่า เศรษฐีบิดาของคุณนาค (สมเด็จพระอมรินทรา มาตย์พระบรมราชินีในรัชกาลที่ 1) ให้สมภารวัดบางลี่ตรวจดูดวงชะตาคุณนาคสมภารทำนายว่าจะได้เป็นพระราชินี เศรษฐี บิดา คุณนาคจึงให้คำมั่นว่า ถ้าเป็นจริงจะสร้างกุฎีทองถวายให้วัด วัดบางลี่จึงได้ชื่อว่า วัดบางลี่กุฎีทอง ต่อมาวัดบางลี่ถูกน้ำเซาะที่ดินพังลง จึงรื้อกุฎีทองมาสร้างไว้ที่วัดภุมรินทร์ วัดนี้จึงได้ชื่อว่าวัดภุมรินทร์กุฎีทอง
- วัดท้องคุ้ง ซึ่งตั้งอยู่ที่ ต.สวนหลวง อ.อัมพวา จ.สมุทรสงคราม โดยภายในวัดมีพระพุทธรูปประดิษฐานคือ หลวงพ่อโต โดยชาวบ้านในพื้นที่รู้ว่าหากต้องการบน กับท่านให้ประสบผลสำเร็จ ต้องบนด้วยประทัดยักษ์ หรือ พลุ เท่านั้น ถ้านักท่องเที่ยวเดินทางมาเที่ยวที่วัดท้องคุ้งเเล้วได้ยินเสียงประทัด หรือ พลุ ก็ไม่ต้องตกใจเเสดงว่ามีการเเก้บน นอกจากนี้เเล้วภายในวัดท้องคุ้งยังมีพระพุทธรูปไม้เเกะสลัก เป็นศิลปะเเบบพม่าคือ หลวงพ่อบัวเข็ม ประดิษฐานให้พุทธศาสนิกชนได้เคารพสักการะนอกจากพระพุทธรูปศักดิ์สิทธ์ภายในวัดเเล้วยังมีสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ ธรรมชาติที่ร่มรื่นเหมาะกับการมาทำบุญเเละพักผ่อนหย่อนใจ
- วัดบางแคใหญ่ วัดบางแคใหญ่ ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำแม่กลอง บริเวณปากคลองบางแค ตำบลแควอ้อม สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2357 ภายในวัดมีโบราณสถานและโบราณวัตถุที่น่าสนใจ ได้แก่ พระอุโบสถหลังใหญ่อายุกว่า 150 ปี ด้านหน้ามีเจดีย์เหลี่ยมย่อมุมสิบสองศิลปะสมัยกรุงศรีอยุธยา พระประธานในอุโบสถปางมารวิชัยปั้นด้วยศิลาแลง มีธรรมเจดีย์ 7 องค์สร้างเมื่อ พ.ศ. 2415 มีกำแพงแก้วล้อมรอบ และบนฝาประจัน (ฝากั้นห้อง) กุฏิสงฆ์มีภาพจิตรกรรมฝาผนังที่เขียนด้วยสีฝุ่นผสมกาว เขียนในปลายสมัยรัชกาลที่ 2 เป็นเรื่องราวการทำสงครามไทย-พม่า ซึ่งน่าจะเป็นครั้งที่ ร.2 โปรดให้ไปขัดตาทัพที่ราชบุรีเมื่อปี พ.ศ. 2364 ซึ่งไม่ได้เปิดให้ชมทั่วไปต้องขออนุญาต
- วัดบางแคกลาง เป็นวัดโบราณ มีอายุเกือบ200 ปี ผู้สร้างวัด คือ หลวงพ่อเกตุ เดิมเรียก วัดบางแคใน เพราะอยู่ในคลองบางแคหลังจากที่เจ้าพระยาวงษาสุรศักดิ์ได้สร้างวัดบางแคนอกขึ้น ชาวบ้านมักเรียกว่า วัดปทุมเกษร ได้จัดตั้งเป็นวัดเมื่อ พ.ศ. 2373 ชื่อว่า วัดบางแคกลาง
- วัดบางจาก ตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2350 เดิมมีชื่อว่าวัดใหม่ตาเพชร เพราะผู้บริจาคที่ดินให้สร้างวัดชื่อ “นายเพชร” จึงตั้งชื่อวัดตามชื่อผู้บริจาคที่ดินต่อมาจึงได้เปลี่ยนชื่อมาเป็นวัดเกษมสรณาราม ตามบัญชาของสมเด็จพระสังฆราช (จวน อุฎฐายี) ในปี พ.ศ.2476 ค่ะซึ่งวัดแห่งนี้เป็นวัดที่ได้รับการพัฒนาและบูรณปฏิสังขรณ์มาโดยตลอด จนได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อปี พ.ศ.2420
- วัดบางเกาะ วัดบางเกาะเทพศักดิ์เป็นวัดโบราณสมัยกรุงศรีอยุธยา ก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. 2300 ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อ พ.ศ. 2320 ไม่ทราบว่าผู้ใดเป็นผู้สร้าง สมัยโบราณชื่อว่า “วัดเกาะกาหลง” ต่อมาเปลี่ยนชื่อว่า “วัดบางเกาะกรรณิการาม” ใกล้ๆกับวัดนี้มีวัดร้างอยู่วัดหนึ่งชื่อว่า “วัดจำปาศักดิ์” ปี 2496 จึงได้รวม 2 วัดเป็นวัดเดียวกันชื่อว่า “วัดบางเกาะเทพศักดิ์” ภายในวัด มีรอยพระพุทธบาทจำลอง มีอายุราว 80 ปี และยังมีจิตรกรรมภาพเขียนเพดาน โดยชาวมอญ เป็นผู้เขียน เป็นลายมงคลจักรวาล เทวดาประจำนพเคราะห์ เป็นภาพเขียนเชิงอารมณ์ขัน ผนังเป็นภาพพุทธประวัติ มีเจดีย์หงสาวดี เจดีย์จุฬามณี เขียนขึ้นสมัยรัชกาลที่ 2 นอกจากนั้นยังมีพระวิหารหลวงพ่อศรีสมุทร ซึ่งสร้างจากหินอ่อนเป็นส่วนใหญ่มีความสวยงามน่าชมยิ่ง
- วัดอินทาราม สิ่งที่น่าสนใจภายในวัดนี้ ได้แก่ พระพุทธรูปหลวงพ่อโตอายุกว่า 300 ปี พระอุโบสถสร้างด้วยหินอ่อนทั้งหลัง บานหน้าต่างและบานประตูเป็นไม้สักแกะสลักสุภาษิตสอนใจ คนส่วนใหญ่มักจะมาทำพิธีลอดใต้โบสถ์สะเดาะเคราะห์ (โดยมีพราหมณ์แนะนำ) ตักบาตรข้าวสาร อุ้มพระประจำวันเกิด ทำบุญไหว้พระเสริมบารมี (ใครชอบเสี่ยงเซียมซี ที่นี่เค้าก็ว่าแม่น) อิ่มบุญแล้วในวัดยังมีตลาดน้ำเล็กๆ ที่แม่ค้าขนกระทะตะหลิวมาตั้งเตาผัดกันเห็นๆ ทั้งหอยทอด ผัดไทย ก๋วยเตี๋ยว ส้มตำ ฯลฯ ระหว่างรอก็ไปให้อาหารปลาที่อุทยานปลาตะเพียนตรงท่าน้ำ ครบเซ็ตทำบุญให้ทาน
- วัดบางกุ้ง วัดบางกุ้งเป็นค่ายทหารเรือไทยที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ สมเด็จพระเจ้าเอกทัศน์ ทรงโปรดเกล้าฯ ให้ยกกองทัพเรือ มาตั้งค่ายที่ค่ายบางกุ้ง เรียกว่า “ค่ายบางกุง้” โดยสร้างกำแพงล้อมวัดบางกุ้งให้อยู่กลางค่าย เพื่อเป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจ และเป็นที่เคารพบูชาของทหาร ภายหลังเสียกรุงครั้งที่ 2 ค่ายบางกุ้งก็ร้างไปจนกระทั่ง พระบาทสมเด็จพระเจ้าตากสิน มหาราชทรงสถาปนากรุงธนบุรี เป็นราชธานีจึงทรงโปรดเกล้าฯ ให้ชาวจีนจาก ระยอง ชลบุรี ราชบุรี และกาญจนบุรีรวบ รวมผู้คนมาตั้งกองทหารรักษาค่าย จึงมีชื่อเรียกอีกหนึ่งว่า “ค่ายจีนบางกุ้ง” ในปี พ.ศ. 2311 พระเจ้ากรุงอังวะทรงยกทัพผ่านกาญจนบุรีมาล้อมค่ายจีนบางกุ้ง สมเด็จพระเจ้า ตากสินมหาราชทรงโปรดเกล้าฯ ให้พระมหามนตรี (บุญมา) เป็นแม่ทัพยกไปช่วยเหลือทหารจีนขับไล่กองทัพ พม่าทำให้ข้าศึกแตกพ่าย หลังจากนั้นค่ายบางกุ้งแห่งนี้ก็ถูกปล่อยให้รกร้างเกือบ 200 ปี จนมาถึง พ.ศ.2510 กระทรวงศึกษาธิการ จึงได้ตั้งเป็นค่ายลูกเสือขึ้น (ปัจจุบันได้ยกเลิกไปแล้ว) และได้สร้างศาลพระเจ้าตากสิน ไว้เป็นอนุสรณ์
- วัดบางนางลี่ใหญ่ ตั้งอยู่ริมแม่น้ำแม่กลอง ตรงข้ามที่ทำการอำเภออัมพวา อุโบสถสร้างแบบสำเภาในสมัยสุโขทัย ซึ่งต่อมาสมัยอยุธยานิยมสร้างเรียนแบบสุโขทัย
ประตูเข้าอุโบสถมีด้านหน้าประตูเดียว เรียกกันว่า “โบสถ์มหาอุด” หมายความว่าเข้าแล้วไม่ออก บวชแล้วไมสึก โบสถ์เป็นรูปเรือสำเภา หมายความว่า เป็นยานพาหนะ พาสัตว์โลกข้ามโอฆสงสารสู่นิพพาน คือ เมืองแก้ว ที่ประดิษฐานพระประธานทำเป็นคูหา ถ้ายืนที่หน้าอุโบสถจะมองเห็นพระประธานเพียงพระศอ ต้องนั่งลง จึงจะเห็นพระพักตร์
สิ่งสำคัญของวัด ที่ควรชม และนมัสการ ได้แก่
- พระพุทธรูปยืนอุ้มบาตรแกะสลักด้วยไม้ตะเคียน สูงประมาณ193เซนติเมตร
มีชื่อว่า ”หลวงพ่อตะเคียน” ลงรักปิดทอง เป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ เล่ากันว่า
ท่านลอยน้ำมาเป็นที่นับถือของประชาชนทั่วไป มีงานสมโภชปิดทองในแรม 3 ค่ำ
เดือน 12 ทุกปีมาแต่โบราณ - พระประธานในอุโบสถเป็นของเก่าอยู่ในอุโบสถเดิม นับถือว่าท่านมีความศักดิ์สิทธิ์
มากเช่นเดียวกัน 3.พระพุทธรูปสานสานด้วยหวายลงรักปิดทอง ปางมารวิชัย
หน้าตักกว้างประมาณ2ศอกเศษ ชื่อว่า”หลวงพ่อสาน”เป็นพระเก่า ภายในบรรจุ
พระบรมสารีริกธาตุ และดินสังเวชนียสถาน - ธรรมาสน์สวดพระอภิธรรมของหลวง พระนั่งสวด 4รูป และบุษบกสำหรับสวด
พระอภิธรรมของเก่า ปัจจุบันฝากไว้ที่วัดเพชรสมุทรวรวิหาร